วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

7 Habits of Highly Effective Brains


The United States Senate has engaged me to deliver a professional development workshop to the Senate staff on March 23, 2011. This article is a brief overview of that presentation - Jonathan Jordan.

(For a more in-depth version of this article, please click here)

7 Habits of Highly Effective Brains

Recent research of the human brain has surprised the neuroscience community by revealing that our brains can change, and be improved, at any age in our life cycle. By developing simple habits, you can help ensure that your brain remains healthy and operating with improved efficiency for the rest of your life. People of any age can benefit from developing these 7 simple habits – listed in order of importance with the 7th habit being the most valuable:


  1. Have a Nutritious Diet. Eat a low glycemic diet with lots of nutrients. Omega-3 essential fatty acids have been shown to support brain health in countless studies. By the way, surprisingly blueberries are also an excellent food for your brain.

  1. Focus Sequentially – Don’t Multitask. John Medina, author of Brain Rules, calculates that a person attempting to multitask takes up to 50% longer and makes up to 50% more mistakes that the person performing tasks sequentially!
  1. Be Physically Active. You don’t need to be overly athletic for your brain to benefit. Studies show that 20 to 30 minutes of moderate exercise, like walking, three times a week is all you need to confer a wealth of benefits to your brain. In addition, such simple changes in lifestyle as taking the stairs at work, instead of the elevator, can help your brain stay healthy.                                                                                                                                     
  2. Participate Socially. People who are active socially tend to experience far less mental decline than people who are socially isolated. So look up an old friend, or get together with that aunt or uncle you haven’t spoken to in some time.

  1. Sleep Well – And Long Enough. If you've been awake for 17 hours straight your performance is equivalent to having a blood alcohol-level of 0.05%! A sleep-deprived brain works harder, but accomplishes much less than a rested brain.

  1. Challenge Yourself Mentally. When you learn new things, or even think new thoughts, your brain restructures itself. The more you exercise your brain, the better it performs. To really super charge your brain, take a class in a new language, or in computer programming, or practice learning a musical instrument.

  2. Have a Positive Attitude – And Laugh Often. Attitude changes everything, including your brain.Research shows people who maintain a positive outlook on life are better equipped to cope with even serious brain disorders. Accept what you have, let go of anger and resentment, and move towards joy.
By making these 7 habits part of your daily routine, you’re taking steps to ensure that your brain stays healthy and efficient for a lifetime.

(For a more in-depth version of this article, please click here)



For more information contact us now 
Email: Info@MindfullyChange.com 
Our website: MindfullyChange.com 
Follow Us On Twitter: @MindfullyChange 

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Workforce Scorecard

    เพิ่งไปซื้อหนังสือใหม่เล่มหนึ่งจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชื่อ Workforce Scorecard เขียนโดย Mark Huselid, Brian Becker, และ Richard Beatty ซึ่งสองคนแรกเป็นทีมที่เขียนหนังสือ HR Scorecard ที่โด่งดังในแวดวงด้านการบริหารงานบุคคลเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา                 สาเหตุที่หยิบยกเนื้อหาในหนังสือมาเขียนถึงในสัปดาห์นี้ เนื่องจากในปัจจุบันกระแสแนวโน้มเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการดำเนินงานอย่างหนึ่งก็คือ ความพยายามขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาระบบในการประเมินผลรายบุคคลขึ้นมา ซึ่งก็แตกต่างกันออกไปนะครับ บางแห่งก็เรียก Personal Scorecard หรือ Inidividual Scorecard หรือ ตัวชี้วัดระดับบุคคล                 เข้าใจว่าสาเหตุความตื่นตัวในการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล ก็คงจะหนีไม่พ้นความต้องการของผู้บริหารองค์กรต่างๆ (ทั้งภาครัฐและเอกชน) ในการทำให้มีเครื่องมือหรือระบบในการวัดประเมินผลการดำเนินของบุคลากรในแต่ละคนได้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะได้นำไปเชื่อมโยงกับระบบในการประเมินผลและจูงใจพนักงาน                 จากการสังเกตของผมอาจจะกล่าวได้ว่ากระแสความตื่นตัวดังกล่าว ได้กระจายไปในหน่วยงานภาครัฐมากกว่าของเอกชนด้วยซ้ำไป ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากกฎ ระเบียบใหม่ๆ ของรัฐบาลที่ให้หน่วยราชการมีการประเมินผล รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับแรงจูงใจและโบนัสต่างๆ (ตอนนี้หน่วยราชการส่วนใหญ่กำลังปวดหัวว่าจะจัดสรรเงินจูงใจที่ได้รับมาอย่างไร) และแนวโน้มก็คิดว่าจะมีความตื่นตัวเพิ่มมากขึ้นในภาครัฐภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ส่วนในภาคเอกชนนั้นดูเหมือนยังกลัวๆ กล้าๆ อยู่ ซึ่งอาจจะเนื่องจากในการทำงานในหลายๆ องค์กรนั้นยากที่จะวัดผลการทำงานออกมาเป็นรายบุคคลได้ จะต้องพิจารณาเป็นกลุ่มหรือทีมงานเป็นหลัก                 โดยปกติเวลาจัดทำระบบในการประเมินผลระดับพนักงาน องค์กรส่วนใหญ่ก็จะใช้แนวคิดของ Balanced Scorecard บ้าง หรือ แนวคิดของ Management by Objective บ้าง หรือ แม้กระทั่งการจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคลธรรมดา บ้าง แล้วแต่ความถนัดของแต่ละองค์กร แต่ในหนังสือ Workforce Scorecard เขาเสนอแนะอีกทางเลือกหนึ่งครับ แล้วเรียกว่าเป็น Workforce Scorecard                 ซึ่งโดยหลักการแล้ว เขาก็ยึดตัว Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือหลักในการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งการจัดทำระบบการประเมินผลในระดับองค์กรและหน่วยงาน แต่พอมาถึงระดับพนักงาน หนังสือเล่มนี้เขาเสนออีกแนวคิดหนึ่งครับ ซึ่งเท่าที่ได้อ่านดูก็น่าสนใจทีเดียว และน่าจะสามารถนำไปปรับใช้ได้                 แรกเริ่มสุดหนังสือเล่มนี้เขาพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าบุคลากรในองค์กร (หรือที่เขาใช้ว่า Workforce) สามารถเป็นแหล่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดคุณค่าทางกลยุทธ์ (Strategic Value) ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในเรื่องของความแตกต่าง (Differentiation) ระหว่างบุคลากรในองค์กร ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง                 เขาจะมีการแบ่งตำแหน่งต่างๆ ออกเป็นระดับ ได้แก่ ระดับ A, B, C (หรือ A, B, C Position) ซึ่งระดับที่แตกต่างกันดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของตำแหน่งบางตำแหน่ง ที่มีเหนือกว่าตำแหน่งอื่นในการทำให้กลยุทธ์เกิดความสำเร็จ นอกจากนั้นเขายังแบ่งบุคลากรออกเป็นระดับ A, B, C เช่นกัน (หรือ A, B, C Players) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงาน และโอกาสในเติบโตของบุคลากรแต่ละคน (แนวคิดดังกล่าวใช้กันแพร่หลายในองค์กรหลายแห่งของอเมริกา เช่น ที่จีอี และในเมืองไทยก็เคยมีความพยายามที่จะใช้ในวงการราชการเมื่อปีที่ผ่านมาแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีในชื่อของมาตรการ 3)                 ถ้าองค์กรสามารถที่จะแบ่งตำแหน่งและพนักงานออกเป็นระดับต่างๆ ได้ เขาก็ถือว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้เป็นอย่างดี และการออกแบบ Workforce Scorecard ก็จะต้องเป็นไปเพื่อสนับสนุนต่อการสร้างความแตกต่างในบุคลากรขององค์กร                 ทีนี้เรามาดูองค์ประกอบของ Workforce Scorecard บ้างนะครับว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง หลักการจริงๆ ก็ไม่ต่างจาก Balanced Scorecard และ Strategy Map เท่าใด โดยเขาจะเริ่มต้นที่ผลลัพธ์ที่ต้องการบรรลุเป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นจึงจะหาเหตุว่า อะไรคือสาเหตุสำคัญที่จะช่วยนำไปสู่ผลลัพธ์ดังกล่าว                 สำหรับบุคลากรแต่ละคนแล้ว ผลลัพธ์ที่สำคัญในการทำงานก็คือ ความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรแต่ละคน หรือ Workforce Success ซึ่งจะเป็นการพิจารณาว่าบุคลากรสามารถทำงานได้ประสบความสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่?                 เมื่อสามารถหาความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรได้แล้ว ขั้นต่อมาก็หาสาเหตุว่า อะไรคือสิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน                 ซึ่งก็ระบุออกมาว่า เป็นพฤติกรรมของผู้นำและบุคลากร หรือ Leadership and Workforce Behaviors โดยจะมีคำถามที่สำคัญว่า บุคลากรได้ประพฤติ ปฏิบัติในทางที่เหมาะสมที่จะช่วยนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานหรือไม่?                 โดยสาเหตุที่มีประเด็นนี้ขึ้นมาก็เนื่องจากว่า อาจจะมีบุคลากรจำนวนมากที่มีความรู้ ความสามารถ แต่พฤติกรรมที่แสดงออกนั้นไม่ได้สนับสนุนหรือเอื้อต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงาน                 องค์ประกอบประการที่สามของ Workforce Scorecard ก็คือ สมรรถนะ ทักษะ ความสามารถ ของบุคลากร หรือ Workforce Competencies นั้นเอง โดยจะมีประเด็นคำถามที่สำคัญว่าบุคลากร (โดยเฉพาะพวกที่อยู่ในตำแหน่ง A) มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ บุคลิกภาพ ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติตามกลยุทธ์และช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานหรือไม่?                 และประเด็นสุดท้ายก็คือ ทัศนคติและวัฒนธรรมในการทำงาน หรือ Workforce Mind-Set and Culture โดยมีประเด็นคำถามสำคัญว่าบุคลากรมีความเข้าใจและยอมรับต่อกลยุทธ์และการดำเนินงานขององค์กรหรือไม่? พร้อมทั้งตัวองค์กรเองมีวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมและสนับสนุนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่?                 ภายใต้ประเด็นหรือองค์ประกอบแต่ละประเด็น ก็ได้มีการยกตัวอย่างของตัวชี้วัดออกมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสำเร็จ พฤติกรรม ความสามารถ หรือ ทัศนคติ ก็เรียกได้ว่าในแต่ละประเด็นมีตัวชี้วัดไม่ต่ำกว่า 2-30 ประการให้ได้เลือกใช้กันเลยครับ                 ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะมองว่าองค์ประกอบของ Workforce Scorecard ทั้งสี่ประการ ไม่ได้มีสิ่งใดใหม่ เป็นสิ่งที่เราพบได้อยู่แล้ว และเผลอๆ ใน Balanced Scorecard ของหลายๆ องค์กร ก็มีปัจจัยทั้งสี่ประการเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่แล้ว ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับ เนื่องจากสิ่งที่เขานำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่เรารู้กันอยู่แล้ว เพียงแต่เขานำมาจัดรูปแบบการนำเสนอและเรียกชื่อใหม่ ในรูปแบบที่เราอาจจะไม่เคยคิดมาก่อนเท่านั้นเอง ท่านผู้อ่านที่สนใจก็ลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมดูนะครับ ว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรของท่านได้อย่างไร      แหล่งข้อมูล: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

อยู่ที่มุมมอง

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ในทุกเรื่องที่เกิดขึ้นจะมองให้ดีก็ได้ จะมองให้มีปัญหาก็ได้ ไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ฝ่ายเดียว แต่เราเองมักจะคุ้นเคยกับการมองในทางร้าย และมักจะตอกย้ำกับความคิดเชิงร้ายๆ เหล่านั้นอยู่เรื่อยๆ อาทิเช่น การถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ ทั่วไปเรามักจะมองว่าเราทำผิด เราถูกกลั่นแกล้ง เจ้านายลำเอียง ฯลฯ ตลอดจนคิดอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเวลาหลายสัปดาห์ พาลจะไปโกรธนายและเพื่อร่วมงานอีกบางคนที่ไม่ถูกนายว่า หรือหาว่าเขาไม่เข้ามาช่วยเลย หากเราเปลี่ยนวิธีคิด และมองว่าเรื่องที่ถูกตำหนินี้เรื่องอะไร ครั้งหน้าเราจะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เราจะทำงานด้วยความระมัดระวัง และกลับไปทำงานอื่นต่อไป เราเองก็จะพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์งานได้อีกมากมาย การฝึกสมาธิ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ในทุกเรื่องที่เกิดขึ้นจะมองให้ดีก็ได้ จะมองให้มีปัญหาก็ได้ ไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ฝ่ายเดียว แต่เราเองมักจะคุ้นเคยกับการมองในทางร้าย และมักจะตอกย้ำกับความคิดเชิงร้ายๆ เหล่านั้นอยู่เรื่อยๆ อาทิเช่น การถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ ทั่วไปเรามักจะมองว่าเราทำผิด เราถูกกลั่นแกล้ง เจ้านายลำเอียง ฯลฯ ตลอดจนคิดอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเวลาหลายสัปดาห์ พาลจะไปโกรธนายและเพื่อร่วมงานอีกบางคนที่ไม่ถูกนายว่า หรือหาว่าเขาไม่เข้ามาช่วยเลย หากเราเปลี่ยนวิธีคิด และมองว่าเรื่องที่ถูกตำหนินี้เรื่องอะไร ครั้งหน้าเราจะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เราจะทำงานด้วยความระมัดระวัง และกลับไปทำงานอื่นต่อไป เราเองก็จะพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์งานได้อีกมากมาย การฝึกสมาธิ หากเราจะฝึกสมาธิเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการฝึกอานาปานสติ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าและออก หรือการฝึกสติรับรู้สภาวะของร่างกาย ตลอดจนการฝึกทำใจให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยการบริกรรมคำคำใดคำหนึ่งตลอดเวลา เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกสมาธิทั้งสิ้น เพื่อช่วยลดความเครียดได้ โดยมีผลจากการเปลี่ยนความคิด และทำให้จิตใจสงบ เมื่อจิตใจสงบย่อมมีกำลัง แต่หากจะฝึกก็ค่อยๆ ฝึก ช่วงแรกหากมุ่งมั่นมากเกินไปก็อาจจะรู้สึกเครียดบ้าง ให้ค่อยๆ ปฏิบัติไป แล้วจะค่อยๆ ได้เอง 2. ทางกายภาพ การออกกำลังกาย พูดถึงการออกกำลังกาย ฟังดูเหมือนง่าย แต่เทคนิคที่สำคัญประกอบด้วย - การอุ่นเครื่อง หรือการออกกำลังกายขนาดต่ำๆ และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมตัวก่อนการออกกำลังกายจริง ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที - การออกกำลังกาย มุ่งเน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น แขน ขา หน้าท้อง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที พยายามออกกำลังกายให้ได้ประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ บางครั้งใช้อัตราการเต้นของหัวใจช่วยในการประเมินความหนักเบาในการออกกำลังกาย โดยอาจจะใช้ (220 - อายุ) x 70% นั่นคือ อายุ 40 ปี ควรออกกำลังกายให้หัวใจเต้นขณะที่ออกกำลังกายเท่ากับ (220 - 40) x 70% หรือ 126 ครั้งต่อนาที 2. ระยะผ่อนคลาย เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ และการปรับหัวใจก่อนที่จะพัก เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อและการเป็นตะคริว ใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยเป็นการออกกำลังกายเช่นเดียวกับช่วงอุ่นเครื่อง - การฝึกการหายใจ - การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เทคนิคนี้เป็นการผสมผสานการฝึกการหายใจร่วมกับการจินตนาการ และการคลายกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากการอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด อาจจะเป็นการนอนหงาย จินตนาการว่าอยู่ในสถานที่ที่ผ่อนคลาย เช่น ชายทะเล หรือน้ำตก ฯลฯ หลังจากนั้นหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ และค่อยๆ บอกตัวเองให้มีการผ่อนคลายทีละส่วนของร่างกาย โดยเริ่มจากปลายเท้า เท้า แข้ง ต้นขา ลำตัว จนมาถึงศีรษะ พร้อมกับการหายฝจออกช้าๆ จากเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดด้ายกายภาพ และการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาเข้าช่วยแล้วนั้น เรายังสามารถผสมผสานเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ได้อีกด้วย เช่น ในสำนักงาน การลดความเครียด เราอาจจะทำได้โดยการ - กระจายงาน เพราะการกระจายงานนั้นจะช่วยลดเวลาในการทำงานของคุณเองได้เป็นอย่างดี เลือกทำงานที่คุณจำเป็นต้องทำจริงๆ และแบ่งงานบางส่วนให้ผู้ร่วมงานช่วยบ้าง อย่าพยายามทำตนเป็นพระเอกแต่เพียงผู้เดียว - พยายามติดต่อประสานงานกันให้มากที่สุด งานต่างๆ จะลุล่วงโดยง่าย หากมีการติดต่อสัมพันธ์พูดคุยกันตลอดจนมีการประสานงาน แบางงานและร่วมมือกัน - การพยายามยอมรับการปรับเปลี่ยนตารางเวลาการทำงาน และควรมีเครื่องมือที่พร้อมทำงานที่บ้านได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาคุณได้อีกมากในการเดินทาง ที่สำคัญอย่างพยายามนัดให้มีนัดหมายสำคัญติดกันมากเกินไป จะมีผลต่อความเครียด และคุณจะควบคุมได้ยาก ในบ้าน การลดความเครียด เราอาจจะทำได้โดย - การสื่อสารกับคนในบ้าน ว่าคุณต้องการอะไร การสื่อสารนี้รวมทั้งครอบครัว เพื่อน ฯลฯ บอกในสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบ ไม่เป็นการสนุกในการที่จะเดาใจทั้งเขาและเรา และทำใจให้ยอมรับว่าการบอกนี้ไม่ใช่เพียงครั้งเดียว เพราะทั้งเขาและเราก็อาจจะลืมกันได้ - การปฏิเสธไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายที่สุด การปฏิเสธในสิ่งที่คุณไม่อยากทำหรือไม่พร้อมที่จะทำ ย่อมดีกว่าการที่คุณฝืนใจทำและทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวในที่สุด แต่บางครั้งและบางสิ่งคุณก็ยากที่จะปฏิเสธ ชีวิตก็อย่างนี้แหละก็ต้องฝืนใจทำกันบ้าง - หาเวลาให้รางวัลกับตนเองบ้าง การหาความสนุกสนานบ้างไม่ใช่สิ่งที่ผิด เรื่องสนุกไม่ได้เหมาะกับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่เองก็ต้องการความสนุกสนานเช่นกัน การทำสวนครัว การเล่นกีฬา ฯลฯ เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับเราเอง - การหากัลยาณมิตรไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน อย่างน้อยคนเราควรจะมีใครที่เราพุดคุยได้ด้วย อาจจะไม่ครบทุกเรื่อง แต่บางคนจะคุยในบางเรื่อง การมีหลายคนก็อาจจะทำให้คุณได้คุยครบทุกเรื่อง - การฝึกลมหายใจในแต่ละวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าก่อนเข้าทำงานและตอนเย็นก่อนนอน ก็จะช่วยให้คุณคลายเครียดลงได้เยอะ และพร้อมที่จะหลับได้ง่ายขึ้น ้เราลองมาฝึกกันดู จะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ ฝึกให้ชำนาญ และหลังจากนี้เราจะเป็นคนที่ทนต่อความเครียดได้มากกว่าปกติ และที่สำคัญคุณภาพชีวิตของเรา และผู้ใกล้ชิดเราควรจะดีขึ้น โดย นพ.พงษ์เกียรติ ประชาธำรงค์ หากเราจะฝึกสมาธิเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการฝึกอานาปานสติ ด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าและออก หรือการฝึกสติรับรู้สภาวะของร่างกาย ตลอดจนการฝึกทำใจให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยการบริกรรมคำคำใดคำหนึ่งตลอดเวลา เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกสมาธิทั้งสิ้น เพื่อช่วยลดความเครียดได้ โดยมีผลจากการเปลี่ยนความคิด และทำให้จิตใจสงบ เมื่อจิตใจสงบย่อมมีกำลัง แต่หากจะฝึกก็ค่อยๆ ฝึก ช่วงแรกหากมุ่งมั่นมากเกินไปก็อาจจะรู้สึกเครียดบ้าง ให้ค่อยๆ ปฏิบัติไป แล้วจะค่อยๆ ได้เอง 2. ทางกายภาพ การออกกำลังกาย พูดถึงการออกกำลังกาย ฟังดูเหมือนง่าย แต่เทคนิคที่สำคัญประกอบด้วย - การอุ่นเครื่อง หรือการออกกำลังกายขนาดต่ำๆ และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมตัวก่อนการออกกำลังกายจริง ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที - การออกกำลังกาย มุ่งเน้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น แขน ขา หน้าท้อง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที พยายามออกกำลังกายให้ได้ประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ บางครั้งใช้อัตราการเต้นของหัวใจช่วยในการประเมินความหนักเบาในการออกกำลังกาย โดยอาจจะใช้ (220 - อายุ) x 70% นั่นคือ อายุ 40 ปี ควรออกกำลังกายให้หัวใจเต้นขณะที่ออกกำลังกายเท่ากับ (220 - 40) x 70% หรือ 126 ครั้งต่อนาที 2. ระยะผ่อนคลาย เป็นการเตรียมกล้ามเนื้อ และการปรับหัวใจก่อนที่จะพัก เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อและการเป็นตะคริว ใช้เวลาประมาณ 10 นาที โดยเป็นการออกกำลังกายเช่นเดียวกับช่วงอุ่นเครื่อง - การฝึกการหายใจ - การฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เทคนิคนี้เป็นการผสมผสานการฝึกการหายใจร่วมกับการจินตนาการ และการคลายกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากการอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด อาจจะเป็นการนอนหงาย จินตนาการว่าอยู่ในสถานที่ที่ผ่อนคลาย เช่น ชายทะเล หรือน้ำตก ฯลฯ หลังจากนั้นหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ และค่อยๆ บอกตัวเองให้มีการผ่อนคลายทีละส่วนของร่างกาย โดยเริ่มจากปลายเท้า เท้า แข้ง ต้นขา ลำตัว จนมาถึงศีรษะ พร้อมกับการหายฝจออกช้าๆ จากเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดด้ายกายภาพ และการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาเข้าช่วยแล้วนั้น เรายังสามารถผสมผสานเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ได้อีกด้วย เช่น ในสำนักงาน การลดความเครียด เราอาจจะทำได้โดยการ - กระจายงาน เพราะการกระจายงานนั้นจะช่วยลดเวลาในการทำงานของคุณเองได้เป็นอย่างดี เลือกทำงานที่คุณจำเป็นต้องทำจริงๆ และแบ่งงานบางส่วนให้ผู้ร่วมงานช่วยบ้าง อย่าพยายามทำตนเป็นพระเอกแต่เพียงผู้เดียว - พยายามติดต่อประสานงานกันให้มากที่สุด งานต่างๆ จะลุล่วงโดยง่าย หากมีการติดต่อสัมพันธ์พูดคุยกันตลอดจนมีการประสานงาน แบางงานและร่วมมือกัน - การพยายามยอมรับการปรับเปลี่ยนตารางเวลาการทำงาน และควรมีเครื่องมือที่พร้อมทำงานที่บ้านได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาคุณได้อีกมากในการเดินทาง ที่สำคัญอย่างพยายามนัดให้มีนัดหมายสำคัญติดกันมากเกินไป จะมีผลต่อความเครียด และคุณจะควบคุมได้ยาก ในบ้าน การลดความเครียด เราอาจจะทำได้โดย - การสื่อสารกับคนในบ้าน ว่าคุณต้องการอะไร การสื่อสารนี้รวมทั้งครอบครัว เพื่อน ฯลฯ บอกในสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบ ไม่เป็นการสนุกในการที่จะเดาใจทั้งเขาและเรา และทำใจให้ยอมรับว่าการบอกนี้ไม่ใช่เพียงครั้งเดียว เพราะทั้งเขาและเราก็อาจจะลืมกันได้ - การปฏิเสธไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายที่สุด การปฏิเสธในสิ่งที่คุณไม่อยากทำหรือไม่พร้อมที่จะทำ ย่อมดีกว่าการที่คุณฝืนใจทำและทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวในที่สุด แต่บางครั้งและบางสิ่งคุณก็ยากที่จะปฏิเสธ ชีวิตก็อย่างนี้แหละก็ต้องฝืนใจทำกันบ้าง - หาเวลาให้รางวัลกับตนเองบ้าง การหาความสนุกสนานบ้างไม่ใช่สิ่งที่ผิด เรื่องสนุกไม่ได้เหมาะกับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่เองก็ต้องการความสนุกสนานเช่นกัน การทำสวนครัว การเล่นกีฬา ฯลฯ เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับเราเอง - การหากัลยาณมิตรไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน อย่างน้อยคนเราควรจะมีใครที่เราพุดคุยได้ด้วย อาจจะไม่ครบทุกเรื่อง แต่บางคนจะคุยในบางเรื่อง การมีหลายคนก็อาจจะทำให้คุณได้คุยครบทุกเรื่อง - การฝึกลมหายใจในแต่ละวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าก่อนเข้าทำงานและตอนเย็นก่อนนอน ก็จะช่วยให้คุณคลายเครียดลงได้เยอะ และพร้อมที่จะหลับได้ง่ายขึ้น ้เราลองมาฝึกกันดู จะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ ฝึกให้ชำนาญ และหลังจากนี้เราจะเป็นคนที่ทนต่อความเครียดได้มากกว่าปกติ และที่สำคัญคุณภาพชีวิตของเรา และผู้ใกล้ชิดเราควรจะดีขึ้น โดย นพ.พงษ์เกียรติ ประชาธำรงค์

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

CSR คืออะไร?

CSR คืออะไร?

ความหมายของ CSR “Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

ระดับของ CSR

ระดับ 1 Mandatory Level: ข้อกำหนดตามกฎหมาย หมายถึง การที่ธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, กฎหมาย เเรงงาน, การจ่ายภาษี เป็นต้น

ระดับ 2 Elementary Level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดและให้ผลตอบเเทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำไรที่ได้นั้นต้องมิใช่กำไรซึ่งเกิดจากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ หมายถึง การที่ธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรแก่ ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสมและผู้ประกอบธุรกิจได้ใส่ใจเพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนเเก่สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะสังคมใกล้ที่อยู่รอบข้างที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูเเล หรือเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

ระดับ 4 Voluntary Level: ความสมัครใจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจควบคู่กับการปฏิบัติตามเเนวทางของ CSR ด้วยความสมัครใจไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม ซึ่งการประกอบธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ ธุรกิจต้องดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับ 1 เป็นอย่างน้อย ส่วนการดำเนินการในระดับต่อไปให้ขึ้นกับความพร้อมของแต่ละองค์กร โดยหลักสำคัญของการปฏิบัติตามเเนวทาง CSR ควรอยู่บนหลักพอประมาณที่ธุรกิจต้องไม่เบียดเบียนตนเอง และขณะเดียวกันก็ต้องไม่เบียดเบียนสังคม

ประเภทของ CSR

In process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น การดูแลสวัสดิการพนักงาน, การผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม, ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

After process หมายถึง กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรโดยตรง เช่น การปลูกป่า, การบริจาคทุนการศึกษา,การรณรงค์สร้างจิตสำนึก, การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

As Process หมายถึง องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ หรือ สมาคมการกุศลต่างๆ

หลักแนวคิดของ CSR
1. การกำกับดูเเลกิจการที่ดี
2. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรร
3. การเคารพสิทธิและการปฎิบัติต่อเเรงงานอย่างเป็นธรรม
4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
5. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
6. การดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
7. การเผยเเพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
8. การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม